จะก้าวไป แม้ไฟ จะไหม้โลก จะก้าวไป แม้โชค จะอับเฉา จะก้าวไป แม้ใคร จะด่าเรา จะก้าวไป แม้ใครเขา เผ้านินทา จะก้าวไป เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะก้าวไป เพื่อขจัด มวลปัญหา จะก้าวไป เพื่อพิทักษ์ องสภา จะก้าวไป เพื่อพัฒนา สถาบัน

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


                     

โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง

แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์

โดยที่ประเทศไทย เจริญมั่นคงมาได้ จนถึงปัจจุบัน (พุทธศักราช ๒๕๕๑) เพราะประชาชนในชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม อันเนื่องมาแต่พระศาสนา จึงต้องส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประเทศไทย เจริญมั่นคง ตลอดไป สิ้นกาลนาน จึงกำหนดให้มีโครงการ ชื่อว่า "โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์"
เพื่อให้โครงการนี้ ได้มีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล จึงให้มีคณะกรรมการ ขึ้น คณะหนึ่ง ประกอบด้วย
๑. พระธรรมวโรดม วัดทินกรนิมิต เป็นประธานกรรมการ
๒. พระเทพวงศาจารย์ วัดหนองแวง เป็นรองประธานกรรมการ
๓. พระเทพสุธี วัดไตรธรรมาราม เป็นกรรมการ
๔. พระเทพวรสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นกรรมการ
๕. พระราชปัญญาโสภณ วัดสระเกศ เป็นกรรมการและเลขานุการ
๖. พระครูปลัดสัมพิพัฒนธุตาจารย์ วัดสระเกศ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
๗. พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ วัดสระเกศ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
๘. พระครูสังฆพินัย วัดมหาธาตุ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
อนึ่ง ให้มีสำนักงาน ชื่อว่า "สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์" ให้มีเจ้าหน้าที่ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ประจำสำนักงาน ในเบื้องต้น บรรพชิต จำนวน ๓ รูป คฤหัสถ์ จำนวน ๒ คน ให้คณะกรรมการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ เสนอประธานฯ เพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน

งบประมาณ

๑. เงินอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๒. จากมูลนิธิหรือองค์กร
๓. จากประชาชน
ให้คณะกรรมการ กำหนดหลักการ และวิธีการ ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์
ให้เริ่มดำเนินการส่งเสริมฯ ตามหลักการ และวิธีการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นต้นไป อันเป็นเดือนมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา แห่งสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณ อันประเสริฐ
ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑
(สมเด็จพระพุฒาจารย์)
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

วิธีการดำเนินการ

  • จัดโครงการอบรมครั้งละ ๓ วัน
  • ในแต่ละการอบรม ให้มีทายาท สามารถขยายการอบรมต่อได้ ไม่ต่ำกว่าครั้งละ ๑๐ คน
  • คณะกรรมการจัดการอบรมเอง
  • คณะกรรมการมอบหมายให้มีพระวิทยากรจัดการอบรมแทน

เป้าหมาย

จัดโครงการฯ อบรมนิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้ได้จำนวน ๕๐,๐๐๐ คน ทั่วประเทศ
การบริหารงบประมาณ
  • จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการอบรม สามในสี่ส่วน
  • จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสำนักงาน หนึ่งในสี่ส่วน

สำนักงาน

สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่ ณ ศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ ด้านทิศตะวันตกพระบรมบรรพต วัดสระเกศ ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐ โทรศัพท์ / โทรสาร ๐-๒๖๒๑-๐๓๕๗

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยุวชนประชาธิปไตย



กิจกรรมการเลือกตั้ง

โรงเรียนในฝัน

                                



โรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน)
    โรงเรียนในฝัน คือ โรงเรียนที่มุ่งจัดการศึกษาด้วยการใช้ ICT หรือเทคโนโลยี เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพ บรรลุมาตรฐาน       การศึกษาของชาติ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และมีองค์ความรู้ความสามารถทุกด้าน มีครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ความร่วมมือ  และสนับสนุนการบริหารจัดการแนวใหม่ จนเป็นโรงเรียนต้นแบบในด้านการพัฒนาทุกๆด้านให้กับโรงเรียนอื่นได้ โดยดำเนินการตามแผนงานหลัก 5 แผนงาน   คือ
    1. แผนพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
    2. แผนพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้
    3. แผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
    4. แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    5. แผนพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา
    เมื่อโรงเรียนเข้าสู่โครงการโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ต้องมีการพัฒนาตนเองและโรงเรียน จากพื้นฐานเดิมๆให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา,โรงเรียนดี มีคุณภาพ มีมาตรฐานดีทัดเทียมกับโรงเรียนในเมืองหลวง
    โรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้น) มีผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องเปิดใจกว้างรับฟังแนวคิดของบุคลกรทางการศึกษา   นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน กลไกลที่สำคัญคือนักเรียนและครู  ครูโรงเรียนในฝันต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู ครูต้องเปิดใจให้กว้างเช่นเดียวกับผู้บริหาร ส่วนนักเรียนต้องกล้าคิด กล้าถาม กล้าพูด กล้าแสดงออก ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ร่วมคิดร่วมทำตามแผนงานหลัก 5 แผนงาน  จนนำไปสู่จุดมุ่งหมาย ต้นแบบโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน)


พิธีไหว้ครู

5 ธันวา มหาราช

ต้นกล้าคุณธรรม ตามแนวพระราชดำริ

โครงการ ต้นกล้าคุณธรรม
หลักการและเหตุผล    
            ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็นสังคมที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประชาชนพลเมืองได้ไปชุมนุมกันที่วัด ผู้ปกครองพาบุตรหลานหรือเยาวชนไปวัด เพื่อร่วมกันทำบุญและอุทิศส่วนกุศลตามวัฒนธรรมประเพณีสังคมไทยในสมัยนั้นส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเด็กหรือเยาวชนได้เข้าไปพักอาศัยอยู่ในวัดเพื่อเรียนหนังสือ ซึ่งพระสงฆ์ก็จะสอนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาให้กับเด็กหรือเยาวชนเหล่านั้น จึงทำให้เยาวชนไทยมีจิตสำนึกที่ดีงามและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
            ในปัจจุบันค่านิยมพื้นฐานของสังคมไทยเปลี่ยนไป คนไทยให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ขาดหลักในการดำรงชีวิต ที่มีอายุอย่างยั่งยืน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของสังคมยึดมั่นอยู่กับสังคมบริโภคนิยม ซึ่งเราเรียกว่า สังคมโลกาภิวัฒน์ ทำให้เกิดความวิกฤติทางสังคม และได้ส่งผลมาถึงเยาวชนไทย จะสังเกตได้จากข่าวอาชญากรรมทุกวันนี้ ว่ามีการเกิดจากเยาวชนมากขึ้น
            โครงการ ต้นกล้าคุณธรรม นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนม์มายุครบ ๘๐ พรรษา ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนไทยรู้จักนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยจะมีการจัดกิจกรรมให้เยาวชนได้สัมผัสการเรียนรู้พร้อมกับเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และส่งเสริมกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจในหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา
๒. เพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
๓. เพื่อให้เยาวชนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาของสังคมไทย โดยการใช้หลักธรรมคำสอนปลูกฝังเข้าไปในตัวเยาวชน
๔. เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทำให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา
๒. ทำให้เยาวชนรู้จักใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
๓. ทำให้เยาวชนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาของสังคมไทย
๔. ทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์